0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 452 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-10-22
จำนวนครั้งที่ชม : 8,590,469 ครั้ง
Online : 86 คน
Photo

    บทความกฎหมายล้มละลาย

    2013-01-08 15:06:53 ใน คดีล้มละลาย » 0 172654 บทความล้มละลาย
    ข้อสันนิษฐานว่าลูกหนี้เป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว
    ในการดำเนินคดีล้มละลาย เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะต้องนำสืบให้ศาลเชื่อว่าลูกหนี้เป็นบุคคลมีหนี้สิน ล้นพ้นตัว กล่าวคือลูกหนี้มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินหรือมีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้แก่ เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 ถ้าลูกหนี้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าลูกหนี้นั้นเป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว คือ
    (1) ถ้าลูกหนี้โอนทรัพย์สินหรือสิทธิจัดการทรัพย์สินของตนให้แก่บุคคลอื่นเพื่อ ประโยชน์แห่งเจ้าหนี้ทั้งหลายของตน ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร   
    (2) ถ้าลูกหนี้โอนหรือส่งมอบทรัพย์สินของตนไปโดยการแสดงเจตนาลวง หรือโดยการฉ้อฉล ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร
    (3) ถ้าลูกหนี้โอนทรัพย์สินของตนหรือก่อให้เกิดทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้น เหนือทรัพย์สินนั้น ซึ่งถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะต้องถือว่าเป็นการให้เปรียบ ไม่ว่าได้กระทำการนั้นในหรือนอกราชอาณาจักร   
    (4) ถ้าลูกหนี้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ เพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้             
    ก. ออกไปเสียนอกราชอาณาจักร หรือได้ออกไปก่อนแล้วและคงอยู่นอกราชอาณาจักร             
    ข. ไปเสียจากเคหะสถานที่เคยอยู่ หรือซ่อนตัวอยู่ในเคหะสถาน หรือหลบไป โดยวิธีอื่น หรือปิดสถานที่ประกอบธุรกิจ             
    ค. ยักย้ายทรัพย์ไปให้พ้นอำนาจศาล             
    ง. ยอมตนให้ต้องคำพิพากษาซึ่งบังคับให้ชำระเงินซึ่งตนไม่ควรต้องชำระ   
    (5) ถ้าลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี หรือไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้   
    (6) ถ้าลูกหนี้แถลงต่อศาลในคดีใดๆ ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้  
    (7) ถ้าลูกหนี้แจ้งให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดของตนทราบว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้   
    (8) ถ้าลูกหนี้เสนอคำขอประนอมหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่สองคนขึ้นไป   
    (9) ถ้าลูกหนี้ได้รับหนังสือทวงถามจากเจ้าหนี้ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าสอง ครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และลูกหนี้ไม่ชำระหนี้
     
    สิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
    1.เกี่ยวกับสิทธิของลูกหนี้
    1.1)ห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใดๆ เกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ เว้นแต่จะได้กระทำตามาคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล,เจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ (มาตรา 24)
    1.2)ลูกหนี้ไม่มีอำนาจดำเนินคดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตน (มาตรา 22 (3),25)
    1.3)ลูกหนี้ออกไปนอกราชอาณาจักรไม่ได้ เว้นแต่ศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อนุญาตเป็นหนังสือ ถ้าจะย้ายที่อยู่ต้องแจ้งตำบลที่อยู่ใหม่ให้ทราบ (มาตรา 67 (3) หากฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 161 มีทั้งโทษจำและปรับ)
    1.4)ลูกหนี้จะรับสินเชื่อจากผู้อื่นมีจำนวนตั้งแต่ 100 บาท ขึ้นไป โดยมิได้แจ้งให้ผู้นั้นทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ หากฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 165 (1) มีทั้งโทษจำและปรับ
    2.เกี่ยวกับหน้าที่ของลูกหนี้
    2.1)ลูกหนี้ ต้องส่งมอบทรัพย์สิน ดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารอันเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตนซึ่งอยู่ในความครอบครองแก่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทั้งสิ้น (มาตรา 23) หากฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 163 (1)
    2.2)ลูกหนี้ต้องไปในการประชุมเจ้าหนี้ทุกครั้งและตอบคำถามของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์,กรรมการเจ้าหนี้ หรือเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของตน และต้องกระทำการอันเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์หรือศาลมีคำสั่ง (มาตรา 64) และต้องไปศาลในการไต่ส่วนลูกหนี้โดยเปิดเผย (มาตรา 42,43) หากฝ่าฝืนมีความผิด ตามมาตรา 162 มีทั้งจำและปรับ2.3)ลูกหนี้จะต้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดจำนวนเงินเพื่อใช้ จ่ายเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว ตามสมควรแก่ฐานานุรูปโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้อนุญาตให้ลูกหนี้ จ่ายเงินที่ลูกหนี้ได้มาระหว่างล้มละลาย และลูกหนี้จะต้องส่งเงินหรือทรัพย์สินที่เหลือนั้นแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์ภายในระยะเวลาทีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นกำหนด พร้อมด้วยบัญชีรับจ่าย (มาตรา 67 วรรค 1)
    2.4)ทุกครั้งที่ลูกหนี้มีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์สินอย่างใด ลูกหนี้จะต้องรายงานเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ โดยแสดงรายละเอียดเท่าที่สามารถจะทำได้ภายในระยะเวลาอันสมควร และไม่ว่ากรณีใดๆ ลูกหนี้จะต้องแสดงบัญชีรับจ่ายเสนอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทุกระยะเวลา 6 เดือน นับแต่ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษา (มาตรา 67 วรรค 2)หากฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 163 (2) มีทั้งโทษจำและปรับ
     
    บุคคลล้มละลายมีสิทธิใช้จ่ายเพื่อเลี้ยงชีพ
    ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 67 บัญญัติว่า "เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้หรือพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้ว และยังไม่สั่งปลดจากล้มละลาย
    (1) ลูกหนี้จะต้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดจำนวนเงินเพื่อใช้จ่าย เลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวตามสมควรแก่ฐานานุรูป โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้อนุญาตให้ลูกหนี้จ่ายจากเงินที่ลูกหนี้ ได้มาระหว่างล้มละลาย และลูกหนี้จะต้องส่งเงินหรือทรัพย์สินที่เหลือนั้นแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์กำหนดพร้อมด้วยบัญชีรับจ่าย"
    ลูกหนี้ ที่ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วจะต้องขอ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดจำนวนเงินเพื่อใช้จ่ายในการเลี้ยงชีพของ ลูกหนี้และครอบครัวของลูกหนี้ตามสมควรแก่ฐานานุรูป และเงินที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจอนุญาตกำหนดให้ลูกหนี้ใช้จ่าย เพื่อเลี้ยงชีพได้แก่เงินที่ลูกหนี้ได้มาระหว่างล้มละลายเท่านั้น   เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดจำนวนเงินที่ลูกหนี้ได้มาระหว่างล้ม ละลายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการเลี้ยงชีพแล้ว ถ้ามีเงินหรือทรัพย์สินเหลืออยู่ลูกหนี้จะต้องส่งเงินหรือทรัพย์ที่เหลือ นั้นแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนด พร้อมด้วยบัญชีรับจ่าย  
    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2862/2524 เงินบำนาญของลูกหนี้ซึ่งกระทรวงการคลังส่งมาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แม้ จะเป็นเงินบำนาญที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แต่ก็เป็นเงินบำนาญที่ได้ส่งมาให้ภายหลังที่ศาลชั้นต้นสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีหน้าที่ต้องรับเงินบำนาญดังกล่าวซึ่งเป็นเงิน ที่ลูกหนี้ได้มาระหว่างล้มละลายรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อแบ่ง แก่เจ้าหนี้   และพิจารณาจ่ายค่าเลี้ยงชีพของลูกหนี้และครอบครัวตามสมควรแก่ฐานานุรูปต่อไป ตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 กรณีมิใช่เป็นเรื่องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปก้าวล่วงจัดการทรัพย์สินของ ลูกหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์   จำนวนเงินค่าเลี้ยงชีพเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องพิจารณา สั่งจ่ายโดยพิเคราะห์ถึงความเป็นอยู่ของลูกหนี้และครอบครัวในขณะที่พิจารณา สั่งจ่าย
     
    กรุณาเข้า สู่ระบบ ก่อนทำการเขียนข้อความ