0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 452 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-10-22
จำนวนครั้งที่ชม : 8,643,263 ครั้ง
Online : 70 คน
Photo

    เบื้องต้นกับทรัพย์สินทางปัญญา

    2013-01-09 17:20:53 ใน คดีทรัพสินย์ทางปัญญา » 0 158048
    เบื้องต้นกับทรัพย์สินทางปัญญา

    ทรัพย์สินทางปัญญาในความหมายอย่างกว้าง หมายถึงการสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ซึ่งแสดงออก ในรูปแบบใดก็ตามทรัพย์สินทางปัญญานี้อาจเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น ความคิด แนวคิด กรรมวิธี หรือทฤษฎี ทรัพย์สินทางปัญญายังอาจปรากฏในรูปแบบที่จับต้องได้ เช่นการประดิษฐ์ สินค้า หรือสื่อรูปแบบอื่นที่จับต้องได้ นอกจากนี้ ทรัพย์สินทางปัญญายังอาจรวมถึงความรู้ การค้นพบ หรือการสร้างสรรค์อีกด้วย จะเห็นได้ว่า ความหมายอย่างกว้างของทรัพย์สินทางปัญญานี้เน้น ที่ผลผลิตของสถิตปัญญาและความชำนาญของมนุษย์ โดยไม่ได้คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์ หรือวิธีการสร้างสรรค์หรือวิธีการในการแสดงออกแต่อย่างใด

    ทรัพย์สินทางปัญญาในความหมายอย่างแคบนั้นถูกนิยามขึ้นเพื่อสนองตอบนโยบาย ทรัพย์สินทางปัญญาจะถูกจำแนก เป็นประเภทต่าง ๆ ตามผลผลิตทางปัญญา ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ นโยบายของรัฐ ประโยชน์ในทางสังคม และเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ฯลฯ ทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภทมีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กำหนดรับรอง และให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกัน นโยบายของรัฐเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภท บัญญติไว้ภายใต้กฏหมายไม่ว่าจะเป็นกฏหมายที่บัญญติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือกฏหมายจารีตประเพณี ตามแต่ระบบ กฎหมายของประเทศนั้น ๆ จะเห็นได้ว่าความหมายอย่างแคบของทรัพย์สินทางปัญญานี้กำจัดอยู่ที่การสร้างสรรค์ ของมนุษย์ที่กฏหมายรับรองไว้เท่านั้น
    ทรัพย์สินทางปัญญาจะเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้เสมอ ซึ่งถือเป็นสิทธิในทรัพย์สินนั้นเองสิทธิในทางทรัพย์สินนี้ ถูกจัดว่าเป็นทรัพย์สินหรือสิทธิในทรัพย์สินนื่องจากผลทางปัญญาเป็นผลโดยตรงมาจากกำลังที่ทุ่มเททั้งหมดซึ่งสามารถ ประเมินค่าในทางเศรษฐกิจได้ ไม่ว่ากำลังนั้นจะเป็นการลงทุนทางการเงิน แรงงาน เวลา ฯลฯ

    ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิทั้งหลายซึ่งให้แก่บุคคลที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามที่กฏหมายบัญญติไว้ อธิบายอย่างง่าย ๆ ได้ว่า ทรัพย์สินทางปัญญานั้นเป็นสิทธิต่าง ๆ แต่เพียงผู้เดียวที่ผู้สร้างสรรค์จะกระทำการบางอย่างเกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ของตน ในทางทฤษฎี ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิ ในการป้องกันมิให้ผู้อื่นมากระทำการใด ๆ อันเป็นสิทธิของผู้สร้างสรรค์แก่งานสร้างสรรค์ รวมตลอดถึงสิทธิในการบังคับสิทธิตามกฎหมายแกผู้ละเมิดสิทธิของผู้สร้างสรรค์ด้วยแนวความคิดนี้มีความสำคัญมากเพราะจะต้องใช้ในการให้คำตอบว่าผู้ทรงสิทธิกระทำอย่างไรบ้างต่องานสร้างสรรค์ทางปัญญาของตน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การที่ผู้ทรงสิทธิมีสิทธิกระทำการอย่างไรบ้างต่อบุคคลซึ่งละเมิดสิทธิของตนเป็นสิ่งสำคัญมาก มิฉะนั้นระบบของทรัพย์สินทางปัญญาก็จะประสบความล้มเหลว

    นอกจากสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์แล้ว ระบบกฎหมายอาจให้สิทธิคนอื่น ๆ ในทางทรัพย์สินทางปัญญาอีกด้วย ในบางประเทศกฎหมายอาจบัญญัติให้สิทธิในการได้รับค่าตอบแทนและธรรมสิทธิ สิทธิประเภทแรก คือ สิทธิของผู้ทรงสิทธิในการได้รับค่าตอบแทนในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่นอกเหนือจากสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการห้ามใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต สิทธินี้ไดรับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของสิทธินักแสดง ส่วนสิทธิประเภทหลังนั้น ผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ธรรมสิทธิในการขอให้ชื่อของตนเองปรากฎในงานที่มีการโฆษณาหรือในการห้ามมิให้มีการดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงงานอันเป็นการเสียหายแก่เกียรติคุณของผู้สร้างสรรค์

    แม้ว่ามรัพย์สินทางปัญญาจะมีอยู่เมื่อผลผลิตทางปัญญาได้สร้างสรรค์ขึ้น แต่มีข้อสังเกตุว่าสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานั้นแยกต่างหากจากกกรรมสิทธิ์ในสื่อแห่งผลผลิตทางมรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ในหนังสือจะไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกันกับความเป็นเจ้าของหนังสือซึ่งจับต้องได้สิทธิบัตรในเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์แยกต่างหากจากความเป็นเจ้าของเครื่องมือ เจ้าของหนังสือหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ มีกรรมสิทธิ์ในการใช้หรือจัดการทรัพย์นั้นตามความประสงค์ แต่ไม่สามารถทำการใด ๆ ซึ่งละเมิดต่อสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงลิขสิทธิ์ หรือผู้ทรงสิทธิบัตร เจ้าของหนังสือไม่สามารถทำซ้ำหนังสือโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของลิขสิทธิ์ เนื่องจากบิทธิในการทำซ้ำเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์ ผู้ซื้อเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถผลิตเครื่องมือที่มีสิทธิบัตรได้ เพราะสิทธิในการผลิต กรรมวิธี หรือสินค้าที่ได้รับสิทธิบัตรเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิบัตร หลักเกณฑ์ในการแยกต่างหากจากกันนี้ใช้กับทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท
    กฎเกณฑ์นี้ยังใช้กับกรณีที่สื่อจับต้องได้ของทรัพย์สินทางปัญญา เช่น หนังสือ สิ่งบันทึกเสียง เครื่องมือที่ได้รับสิทธิบัตร สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าอยู่ในความครอบครองของบุคคลเป็นระยะเวลานาน ระบบกฎหมายอาจทำให้บุคคลได้มาซึ่งสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ โดยการครอบครองปรปักษ์ซึ่งคือการครอบครองทรัพย์อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เนื่องจากสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาแยกกต่างหากจากสิทธิในสื่อการแสดงออกการครอบครองสื่อซึ่งอาจจะทำให้ได้มาซึ่งอาจจะทำให้ได้มาซึ่งทรัพย์นั้น ไม่ทำให้ผู้ครอบครองได้มาซึ่งในทรัพย์สินทางปัญญา

    เหตุผลในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

    ระบบของทรัพย์สินทางปัญญาให้ความคุ้มครองที่กว้างขวาง ผู้ทรงสิทธิสามารถใช้การ เยียวยาความเสียหายได้ในทางแพ่ง หรือใช้กระบวนการทางอาญา หรือมาตรการทางบริหารที่บัญญัติไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกันได้ ในกระบวนการทางการแพ่งนั้นผุ้ทรงสิทธิสามารถเรียกร้องให้มีการเยียวยาทางการเงิน เช่น ค่าเสียหาย หรือเรียกให้ผู้ละเมิดกระทำการ หรือละเว้นการกระทำ อาทิ ให้หยุดแจกจ่ายสินค้าที่ละเมิด การดำเนินคดีทางอาญาเป็นการที่โจทก์เรียกร้องให้ลงโทษทางอาญาแก่จำเลย เช่น จำคุก หรือปรับ ในบางระบบกฎหมายอาจบัญญัติให้มีมาตรการทางบริหารเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือเพื่อแก้ไขขั้นตอนที่ผิดพลาดได้ เช่น การเพิกถอนการจดทะเบียนเป็นต้น

    การคุ้มครองตามกฎหมายเกิดจากแนวความคิดในเรื่องความยุติธรรมตามธรรมชาติและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของบุคคล เป็นที่ยอมรับกันว่าผู้สร้างสรรค์งานเป็นผู้มีสิทธิ์โดยชอบที่จะได้ประโยชน์จากความอุตสาหของตน ในทางกลับกันผู้ซึ่งเก็บเกี่ยวจากสิ่งซึ่งไม่ใช่ผลอันเกิดจากแรงงานของตนจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงสิทธิ การมใช้โดยผู้ละเมิดถือว่าเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจแก่ผู้ทรงสิทธิ เนื่องจากผู้ทรงสิทธิไม่ได้รับค่าตอบแทนซึ่งเขาควรจะได้รับจากการใช้โดยมิได้รับอนุญาต ภายใต้หลักความเสี่ยงธรรม ระบบการคุ้มครองถูกบัญญัติขึ้นเพื่อให้ผู้ละเมิดที่มิได้รับอนุญาตต้องจ่ายค่าทดแทนแก่ผู้ทรงสิทธิในการละเมิด ตามแนวคิดนี้วัตถุประสงค์ดั้งเดิมของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามุ่งสนับสนุนการสร้างสรรค์และให้ความยุติธรรมแก่บุคคลผู้สมควร ในเวลานั้นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเพียงประเด็นภายในประเทศ ผลกระทบที่ใช้นำมาพิจารณาและมาตรการเยี่ยวยาความเสียหายโดยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของบุคคลทั้งนี้ ไม่ได้คำนึงถึงประเด็นในระดับชาติหรือสากลแต่อย่างใด

    ในยุคสมัยต่อมา เห็นว่ามีความเกี่ยวพันกันระหว่างการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและประโยชน์ของชาติ ประเด็นของทรัพย์สินทางปัญญานำมาเกี่ยวกับประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญาเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นของสินค้าและบริการฉะนั้น การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ไม่เพียงพออาจเพิ่มขอบการแข่งขันนอกกฎหมายและการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมกับสินค้าคู่แข่ง เพราะไม่ได้รวมค่าวิจัยและพัฒนาสินค้าและบริการนั้น สถานการณ์นี้จึงถูกอ้างว่าเป็นสาเหตุแห่งการบิดเบือนทางการค้า ประเทศซึ่งเผชิยหน้าหรือกำลังเผชิญหน้ากับผลกระทบทางเศรษฐกิจจึงร้องขอประเทศคู่ค้าของตนในการให้ความคุ้มครองแก่ทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประมีประสิทธิภาพและเพียงพอ มิฉะนั้นจะมีมาตรการตอบโต้ทางการค้าตอบแทน มาตรการกระทำโดยฝ่ายเดียวและตามความสมัครใจ แต่ก็ได้ผลในบางกรณีเนื่องจากยังไม่มีกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศซึ่งครอบคลุมถึงเรื่องนี้โดยตรง ประเทศผู้ส่งออกต้องชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ในการส่งออกของตนกับผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อที่จะตัดสินใจวางนโยบายว่าจะพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศหรือไม่
    ความสำเร็จในการก่อตั้งองค์กรการค้าโลก (WTO) เป็นพัฒนาการล่าสุดของกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศในการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การเจรจาแกตต์ (GATT) รอบอุรุกวัยได้มีการบรรจุระเบียบวาระเรื่องการค้าที่เกี่ยวข้องกับสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ประเด็นนี้ถูกเสนอโดยกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมซึ่งมีประโยชน์ในทางเศรษฐกิจมากในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา กลุ่มประเทศเหล่านี้ตระหนักว่ากฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในความตกลงระหว่างประเทศที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากไม่มีมาตรการบังคับในกรณีที่ประเทศสมาชิกไม่สามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ได้ หากประเด็นในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวพันกับประเด็นในเรื่องการค้าระหว่างประเทศโดยการนำเอากระบวนการระงับข้อพิพาทมาใช้การคุ้มครองทรัพยืสินทางปัญญาในระดับโลกก็จะเป็นจริง เนื่องจากเศรษฐกิจของแต่ละประเทศต่างก็ขึ้นอยู่กับการส่งออกสินค้าและบริการ การท้าทายกฎกณฑ์ระหว่างประเทศใหม่นี้อาจนำมาซึ่งผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจการส่งออกของประเทศ กลไกลใหม่ซึ่งผูกการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเข้ากับการค้าระหว่างประเทศ คือ ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า หรือ TRIPs ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ในส่วนอารัมภบทของ TRIPs สะท้อนให้เห็นความเกี่ยวพันนี้ว่า


    "ปรารถนาที่จะลดการบิดเบือนและอุปสรรคที่มีต่อการค้าระหว่างประเทศและคำนึงถึงความจำเป็นที่จะส่งเสริมให้มใการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพและเพียงพอ และเพื่อให้มั่นใจว่ามาตรการและขั้นตอนการบังคับสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญาจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการค้าโดยชอบ…"


    ดังนั้น เหตุในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจึงมีการพัฒนาขึ้น การคุ้มครองซึ่งเดิมเห็นว่าเป็นการสนับสนุนการสร้างสรรค์ทางปัญญา และตระหนักถึงความเป็นธรรมตามธรรมชาติของบุคคล ในเวลาต่อมาการคุ้มครองถูกปรับขยายขึ้นโดยผลประโญชน์ทางเศรษฐกิจของชาติ เพื่อให้หลุดรอดจากการกระทำโดยฝ่ายเดียวที่กำหนดโดยประเทศคู่ค้า ในที่สุดการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาก็ถูกยกขึ้นไปสู่ระดับระหว่างประเทศโดยสมบูรณ์เมือ่ประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์ของการคุ้มครองในขั้นนี้ไม่ใช่มีเพียงเพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างสรรค์ทางปัญญาและปกป้องผลประโยชน์ของบุคคลอีกต่อไป แต่ยังเพื่อทำให้เศรษฐกิจของชาติมั่นคงขึ้นซึ่งการนี้ผู้ที่ถูกกระทบไม่ใช่เป็นเพียงบุคคลธรรมดาเท่านั้น แต่คือประเทศชาติโดยรวมนั้นเอง
    ขอบเขตและเขตอำนาจแห่งการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

    โดยหลักการแล้ว การคุ้มครองคือการให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่ผู้ทรงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาได้แก่ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ฯลฯ สิทธิแต่เพียงผู้เดียวเป็นสิทธิในทางนิเสธที่จะทำให้ผู้อื่นจากการกระทำซึ่งเป็นสิทธิแต่เพียวผู้เดียวที่กฎหมายบัญญัติให้แก่ผู้ทรงสิทธิผู้ซึ่งละเมิดสิทธิแต่เพียงผู้เดียวจะได้รับการลงโทษทางแพ่งหรือทางอาญาตามแต่ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย กฎหมายของบางประเทศมีการให้สิทธิพิเศษอย่างอื่นนอกเหนือจากสิทธิแต่เพียวผู้เดียวอีกด้วย มีการยอมรับแนวความคิดเรื่องสิทธิข้างเคียงซึ่งเป็นสิทธิที่เกี่ยวเนื่องกับลิขสิทธิ์ซึ่งผู้ทรงสิทธิไม่มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว แต่มีสิทธิอย่างอื่นทีด้อยกว่า เช่น สิทธิในการได้รับค่าตอบแทนเพื่อปกป้องประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของตน อย่างไรก็ตาม สิทธิข้างเคียงอาจครอบคุลทั้งสิทธิแต่เพียงผู้เดียวและสิทธิในการได้รับค่าตอบแทน ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของไทยบัญญัติว่า นอกจากสิทธิแต่เพียงผู้เดียวแล้วนักแสดงยังมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนจากผู้นำสิ่งบันทึกเสียงซึ่งได้นำออกเผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าแล้วหรือนำเอาสำเนาของงานนั้นไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยตรง  

    ระบบลิขสิทธิ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบการประมวลกฎหมายมีบทบัญญัติให้สิ่งที่เรียกว่า ธรรมสิทธิ หรือสิทธิของผู้สร้างสรรค์โดยเฉพาะเจาะจง สิทธิประเภทนี้ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ เพราะสิทธินี้ให้แก่ผู้สร้างสรรค์ แม้ว่าผู้สร้างสรรคืนั้นจะไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ก็ตามภายใต้หลักะรรมสิทธิ ผู้สร้างสรรค์มีสิทธิขอให้ระบุว่าตนเป็นผู้สร้างสรรค์ เมื่อผู้อื่นโฆษณางานของตน หรือมีสิทธิขอให้ยุติการดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงงานหากการนั้นจะทำให้เกียรติคุณของผู้สร้างสรรคืต้องเสียหาย กฎหมายภายในของประเทศที่มีระบบของกฎหมายที่ต่างกันอาจมีความแตกต่างกันในการให้สิทธิเหล่านี้ภายใต้ระบบทรัพย์สินทางปัญญาของตน ตัวอย่างเช่น ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณีจะไม่นับบัญญัติธรรมสิทธิไว้ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา แต่จะอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายอื่น ในทางกลับกันประเทศที่ใช้ระบบประมลกฎหมาย จะให้ความคุ้มครองแก่ผ๔สร้างสรรค์อย่างธรรมสิทธิในขอบเขตของกฎหมายทรัพยืสินทางปัญญา

    การให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเริ่มต้นจากงานภายในประเทศเท่านั้น การจะได้มาซึ่งความคุ้มครองจะต้องมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประเทศนั้นโดยเจาะจง เช่น สัญชาติ ถิ่นที่อยู่และสถานที่สร้างสรรค์ หรืองานโฆษณา ในยุคก่อนเข้าใจกันว่าผู้สร้างสรรค์ที่ได้รับความคุ้มครองโดยส่วนใหญ่แล้วต้องมีสัญชาติของประเทสนั้น การใหเความคุ้มครองโดยจำกัดนี้เป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอสำหรับกลุ่มประเทศซึ่งเป็นผู้ผลิตผลงาน ดังนั้น จึงมีความพยายามที่จะให้ได้มาซึ่งการคุ้มครองโดยสะดวกขึ้น กลไกลหลัก คือการทำความตกลงทวิภาคี และพหุภาคีที่เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาภายในภูมิภาคขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าการสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศหนึ่งจะได้รับการคุ้มครองในประเทศข้งเคียงอื่น ๆ ด้วยอย่างมรประสิทธิภาพ วิธีนี้สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยดี และได้มีการนำไปใช้ในระดับสากลที่สุด

    กลุ่มประเทศในภาคพื้นต่าง ๆ ได้ทำความตกลงระหว่างประเทศขึ้น เพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายความคุ้มครองให้กว้างขวางยิ่งขึ้น อนุสัญญากรุงปารีสเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (ค.ศ. 1883) เป็นความตกลงระหว่างประเทศฉบับแรกที่เปิดยุคใหม่ของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ ต่อมามีความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่มีวัตถุประสงค์เดียวกันตามมาเป็นลำดับ รวมทั้งอนุสัญญาเบิร์นเพื่อคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรม (ค.ศ 1886) อนุสัญญาโรมเพื่อคุ้มครองนักแสดง ผู้ผลิตสื่อบันทึกเสียง และองค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพ (ค.ศ. 1961) สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (ค.ศ.1970) อนุสัญญาวอชิงตันว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับวงจรรวม (ค.ศ. 1989) ความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการค้า หรือ Trade - Related Aspects of Intellectual Property Rights, Including Trade in Counterfeit Goods (TRIPs) ซึ่งทำขึ้นในปี ค.ศ. 1995 สนธิสัญญาลิขสิทธิ์ WIPO (ค.ศ. 1990) และสนธิสัญญาเกี่ยวกับการแสดงและสิ่งบันทึกเสียง WIPO (ค.ศ.196) ตลอดจนความตกลงอื่น ๆ ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการยกร่าง

    วิวัฒนาการของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

    ในระยะเวลากว่าหนึ่งร้อยปีมานี้ ได้มีการพัฒนาการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างต่อ เนื่องในหลายแง่มุม ระบบการคุ้มครองนั้นได้มีการขยายความคุ้มครองไปยังสิ่งที่ได้รับการคุ้มครองในแต่ละสาขามากขึ้น มีทั้งการขยายแขนงของทรัพย์สินทางปัญญาเองและขยายขอบเขตของการคุ้มครอง พันธกรณีระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาถูกกำหนดขึ้นภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศที่สำตัญฉบับหนึ่ง คือ TRIPs การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาถูกนำเข้ามาเกี่ยวพันกับกฎเกณฑ์ของการค้าระหว่างประเทศเพื่อเป็นหลักประกันการคุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพ

    กฎหมายลิขสิทธิ์ดูเหมือนจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการแสดงให้เห็นว่ามีการรวมสิ่งที่ได้รับการคุ้มครองใหม่ ๆ เพิ่มเติมจากงานดั้งเดิมเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง งานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีได้รับการยอมรับเพิ่มเตอมจากงานลิขสิทธิ์แบบดังเดิมซึ่งครอบคลุมเฉพาะงานพื้นฐานประเภทวรรรกรรมและศิลปกรรม กฎหมายลิขสิทธิ์ทั้งในระดับระหว่างประเทศและระดับภายในประเทศยอมรับงานซึ่งไม่เพียงแต่เกิดจากปัญหาและความชำนาญของมนุษย์ แต่ยังรวมถึงงานที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีอีกด้วย ความตกลงระหว่างประเทศหลายฉบับ เช่น อนุสัญญาเบิร์นเพื่อคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรม ค.ศ. 1883 ซึ่งแก้ไขปรับปรุงหลายครั้ง จนกระทั้งปี ค.ศ 1971 ความตกลง TRIPs สนธิสัญญา WIPO ปี ค.ศ. 1996 เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นการยอมรับงานใหม่และทันสมัย เช่น งานภาพถ่าย งานภาพยนต์ งานโสตทัศนวัสดุ และล่าสุดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตลอดจนฐานข้อมูล ถือเป็นสิ่งที่ได้รับการคุ้มครองภายใต้ลิขสิทธิ์ จึงมีความจำเป็นไปได้ว่าสิ่งที่ได้รับการคุ้มครองใหม่ ๆ ตะเข้าสู่ระบบลิขสิทธิ์ในอนาคตตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

    เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มสาขาของทรัพย์สินทางปัญญา ในสมัยแรกของทรัพย์สินทางปัญญาได้มีการยอมรับเพียง 2 แขนง คือ ลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินอุตสาหกรรม เช่น สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และการออกแบบ แขนงแรกปรากฎให้เห็นในอนุสัญญาเบิร์นเพื่อคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1886 ขณะที่แขนงที่สองปรากฎอยู่ภายใต้อนุสัญญาปารีสเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1883 หลังจากนั้นแขนงอื่น ๆ ของทรัพย์สินทางปัญญาก็เกิดตามมาภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศอีกหลายฉบับ อนุสัญญาโรมเพื่อคุ้มครองนักแสดง ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียง และองค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพ ปี ค.ศ. 1961 บัญญัติให้ความคุ้มครองแก่สิทธิข้างเคียง อนุสัญญาวอชิงตันที่เกี่ยวกับวงจรจัดทำขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1989 เพื่อให้ความคุ้มครองในระดับระหว่างประเทศแก่การออกแบบผังภูมิวงจรรวมซึ่ง มีค่ามหาศาลในทางเศรษฐกิจกับสินค้าและบริการในยุคข้อมูลข่าวสาร ในปี ค.ศ. 1995 ความตกลง TRIPs ได้ให้ความกระจ่างแกปัญญาหาที่มีมาอยู่ช้านานเรื่องการมีลิขสิทธิ์ของโปรแกรมคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูลองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ได้วางกฎเกณฑ์ในการให้ความคุ้มครองแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์และงานที่เกี่ยวข้องในปี ค.ศ. 1996 แนวทางการพัฒนานี้จะดำเนินต่อไป หากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเรียกร้องให้มีการคุ้มครองทางกฎหมายแก่ผลผลิตทางปัญญาชนิดใหม่จากมีนสมองของมนุษย์

    วิวัฒนาการของระบบทรัพย์สินทางปัญญาเป็นพยานที่แสดงให้เห็นถึงการขยายขอบเขตแห่งความคุ้มครอง ในแขนงของลิขสิทธิ์ สิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการให้เช่าถูกบัญญัติขึ้นภายใต้ความตกลง TIRPs ขณะที่อนุสัญญาเบิร์นไม่ได้บัญญัติถึงประเด็นดังกล่าวไว้แต่อย่างใด นอกจากสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่ต่อสาธารณชน ความตกลง TIRPs ยังบัญญัติให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการให้เช่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ งานภาพยนต์ และสิ่งบันทึกเสียงอีกด้วย กลุ่มสมาชิกขององค์กรการค้าโลกซึ่งยอมรับผูกพันตามความตกลง TIRPs จึงมีพันธะกรณีในการตรากฎหมายภายในของตนให้สอดคล้องกับความตกลง TIRPs เกี่ยวกับความคุ้มครองชนิดใหม่นี้ในแขนงของสิทธิบัตร ความตกลง TIRPs ระบุเรื่องสิทธิแต่เพียงผู้เดียวไว้อย่างชัดแจ้ง ขณะที่อนุสัญญาปารีสเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมปล่อยให้การกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวเป็นเรื่องกฎหมายภายในประเทศคู่สัญญา
    พัฒนาการอีกอย่างหนึ่งของระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา คือ การรวมกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศทั้งหลายไว้ในความตกลงฉบับเดียวกัน แนวทางนี้ได้มีการกล่าวถึงในการเจรจา GATT รอบอุรุกวัยซึ่งปรากฏผลในความตกลง TIRPs กลยุทธของความตกลง TIRPs คือ ความตกลงนี้จะผูกพันประเทศสมาชิกของ WTO ให้ต้องยึดถือตามความตกลงระหว่างประเทศสำคัญที่มีอยู่จำนวนหนึ่งซึ่งความตกลง TIRPs ได้อ้างตัวเป็นฐานแห่งการคุ้มครอง นอกจากนี้ความตกลง TIRPs เองยังสร้างกฎเกณฑ์ใหม่ขึ้นอีกด้วย ในเรื่องบรรดาความจกลงระหว่างประเทศที่มีอยู่แล้วนั้นความตกลง TIRPs มิได้แทนที่ความตกลงดังกล่าว แต่ทำหน้าที่เป็นส่วนเพิ่มเติมความตกลงนั้นเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่การคุ้มครองในระดับระหว่างประเทศ กลุ่มประเทศสมาชิกของ WTO ซึ่งมิได้เป็นภาคีในความตกลงดังกล่าวจึงต้องผู้พันตามความตกลงเหล่านั้นโดยทางเทคนิค โดยผ่านพันธกรณีที่กำหนดไว้ตามความตกลง TIRPs นั้นเอง

    นอกจากนี้วิวัฒนาการที่เด่นชัดของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญายังเกี่ยวกับการพึ่งพาซึ่งกันและกันในประเด็นเรื่องการค้าระหว่างประเทศและทรัพย์สินทางปัญญา การเจรจา GATT รอบอุรุกวัยวางสถานะไว้ว่า การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวพันกันกับการค้าระหว่างประเทศเนืองจากขาดความคุ้มครองที่มีประสิทธิภาพเพียงพอจะนำมาซึ่งการบิดเบือนทางการค้าความเกี่ยวข้องขององค์ประกอบทั้งสองได้รับรองในความตกลง TIRPs ภายใต้กระบวนการระงับข้อพิพาทและการใช้ความตกลง GATT 1994 และถือว่าการบังคับทางการค้าเป็นสิ่งชอบด้วยกฎหมายที่จะปฏิบัติได้ หากประทศสมาชิกของ WTO ไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีในการให้ความคุ้มครองเชื่อกันว่ากลไกนี้จะทำให้การคุ้มครองมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าวิธีการอย่างเดิมภายใต้บรรดาความตกลงระหว่างประเทศที่มีอยู่ซึ่งมีสภาพบังคับที่อ่อนแอ

    การเข้าเป็นภาคีในความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

    ประเทศไทยเป็นภาคีในอนุสัญญาก่อตั้งองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์ทางปัญญาเพียง 2 ฉบับ แม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่มีแขนงสาขาที่กว้างขวางก็ตาม

    ประเทศไทยเข้าร่วมในประชาคมระหว่างประเทศในทางทรัพย์สินทางปัญญาครั้งแรกใน พ.ศ. 2474 (ค.ศ.1931) เมื่อประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาเบิร์นเพื่อคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรม ซึ่งแก้ไขและปรับปรุงที่กรุงเบอร์ลิน ในปี ค.ศ. 1908 เพื่ออนุวัตรการตามพันธกรณีจึงได้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ 2474 ขึ้นในปีเดียวกันพันธกรณีของประเทศไทยที่มีอยู่ตามอนุสัญญาเบิร์นได้เปลี่ยนแปลงคั้งแรกใน พ.ศ. 2523 (ค.ศ 1980) เมื่อประเทศไทยได้เข้าผู้พันตามพิธีสารกรุปารีส ค.ส. 1971 ในบทบัญญัติด้านการบริหารเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2523 พันธกรณีของประเทศไทยตามอนุสัญญาเบิร์นได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งที่ 2 ในปี พ.ส. 2538 (ค.ส. 1995) เมื่อประเทศไทยได้ทำคำประกาศต่อองค์การทรัพย์สินทาปัญญาโลกว่าจะขยายผลของความผูกพันไปยังบทบัญญัติด้านสารบัญญัติ (มาตรา 1 ถึง 21) ของพิธีสารกรุงปารีส ค.ศ. 1971 การเข้าผูกพันมีผลสมบูรณ์เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ทำให้ประเทศไทยต้องผูกพันเต็มที่ตามพิธิสารกรุงปารีส ค.ศ. 1971 ทั้งบทบัญญัติด้านสารบัญญัติ (มาตรา 1 ถึง 21 ) และบทบัญญัติด้านการบริหาร (มาตรการ 22 ถึง 38)

    นอกเหนือจากอนุสัญญาเบิร์นซึ่งเป็นความตกลงระหว่างประเทศหลักเกี่ยวหับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศมีข้อน่าสังเกตว่าประเทศไทยไม่เคยเข้าเป็นภาคีในความตงระหว่างประเทศใด แม้ว่าประเทศไทยจะตรากฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาหลายฉบับก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ต้องผูกพันตามความตกลงระหว่างประเทศใด ๆ ที่เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองแก่สิ่งที่ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากความผูกพันตามอนุสัญญาเบิร์น ประทเศไทยเองก็ยังยอมรับหลักสากลและบทบัญญัติในความตกลงระหว่างประเทศบางฉบับ อนุสัญญาปารีสเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมมีอิทธิพลอย่างมากในการร่งกฎหมายคุ้มครองสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของไทย กฎหมายเครื่องหมายการค้าปัจจุบันยอมรับการจำแนกสินค้าและบริการตามบทบัญญัติของความตกลงนีซเรื่องการจำแนกระหว่างประเทศซึ่งสินค้าและบริการระหว่างประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ในการจดทะเบียนเครื่องหมาย นอกจากอนุสัญญาเบิร์นแล้วยังมีความตกลง TIRPs ซึ่งประเทศไทยและประเทศส่วนใหญ่ในประชาคมโลกยอมรับและต้องบังคับตามพันธกรณี โดยการปรับปรุงและตรากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของตน

    เนื่องจากการอนุวัตรการความตกลง TIRPs มีผลให้ต้องยอมรับความตกลงระหว่างประเทสเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาบางฉบับซึ่งอ้างถึงในคงามตกลง TIRPs ประเทศไทยเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าเป็นภาคีในความตกลงระหว่างประเทศเฉพาะเรื่องเหล่านั้นถึงกระนั้นประเทสไทยก็ยังสนใจในการเข้าร่วมสนธิสัญญาความร่วมมือทางด้านสิทธิบัตร (PCT) คณะกรรมมาธิการสภาผู้แทนราษฎรเพื่อทบทวนพระราชบัญญัติสิทธิบัตรมีความเห็นว่าการเข้าเป็นภาคีจะเป็นประโยชน์กับผู้ประดิษฐ์ไทยในเรื่องของการจดทะเบียนระหว่างประเทศ เนื่องจากการยื่นคำขอสามารถทำได้ในประเทศไทย และผู้ยื่นคำขอสามารถระบุประเทศซึ่งตนประสงค์จะได้รับความคุ้มครองได้หลายประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น การสือบค้นระหว่างประเทศจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นภายใต้ระบบดังกล่าว และผู้ยื่อนคำขอสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการแยกยื่นคำขอกับสำนักงานสิทธิบัตรหลาย ๆ แห่ง ดังนั้น คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรจึงสรุปว่ารัฐบาลไทยควรดำเนินการเพื่อเข้าร่วมในสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตรโดยเร็ว

    มีบทเคราะห์ที่แสดงถึงประโยชน์ของการเข้าเป็นภาคีใน PCT จะเป็นคุณแก่ประเทศและผู้ประดิษฐ์ไทย คาดกันว่ารัฐบาลไทยจะมีท่าทีเดียวกันกับฝ่ายนิติบัญญัติและประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคี PCT ในอีกไม่ช้านี้

    ในเรื่องเครื่องหมายการค้า คาดกันว่าประเทสไทยจะเข้าร่วมในความตกลงระหว่างประเทศพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 บัญญัติว่า ในกรณีที่ประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า หากคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศดังกล่าวจะถือว่าคำขอนั้นเป็นคำขอภายใต้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า เข้าใจได้ว่าบทบัญญัตินี้เป้นการเตรียมการในการเข้าเป็นภาคีของความตกลงมาดริดเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศและพิธีสารตามความตกลงนั้น เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวสอดคล้องกันกับหลักการของความตกลงมาดริดในเรื่องการยื่นคำขอระหว่างประเทศที่ว่าการจดทะเบียนประเทศสามารถทำได้หากเครื่องหมายนั้นเป็นเครื่องหมายที่สามารถทำได้หากเครื่องหมายนั้นเป็นเครื่องหมายที่สามารถจดทะเบียนได้ภายในประเทศของผู้ยื่นคำขอ หรือเป็นเครื่องหมายที่สามารถจดทะเบียนได้ภายในประเทศหรือภายในภูมิภาคภายใต้พิธิสารมาดริด

    ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
    ตั้งแต่ความตกลง TIRPs ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากประชาคมโลก ประเภท ของทรัพย์สินทางปัญญาก็ต้องหลากหลายไปตามความตกลง TIRPs ส่วนที่ 2 ของความตกลง TIRPs ซึ่งมีชื่อว่า "มาตรฐานเกี่ยวกับการมี ขอบเขต และการใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา" จำแนกทรัพย์สินทางปัญญาออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
    1. ลิขสิทธิ์ และสิทธิเกี่ยวเนื่อง
    2. เครื่องหมายการค้า 3. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
    3. การออกแบบอุตสาหกรรม
    4. สิทธิบัตร
    5. การออกแบบผังภูมิ (ภูมิสภาพ) ของวงจรรวม
    6. การคุ้มครองข้อสนเทศที่ไม่เปิดเผย
    ปัจจุบันประเทสไทยได้ตรากฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาขึ้นจำนวนหนึ่งซึ่งจะได้ขยายความรายละเอียดในบทต่อ ๆ ไป นอกเหนือจากความตกลง TIRPs ประเทศไทยเป็นภาคีเพียงอนุสัญญาเบิร์นเพื่อคุ้มครองงานวรรรกรรมและศิลปกรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) ขณะนี้ประเทศไทยภาคยานุวัตรอนุสัญญาเบิร์นฉบับแก้ไขปรับปรุงที่กรุงปารีส ปี ค.ส. 1971 แต่ประเทศไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพยืสินทางอุตสากรรมเช่นเดียวกับที่ยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีในความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาฉบับใดอีกเลย ถึงกระนั้นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาปัจจุบันของไทยก็ได้รับรองมาตรฐานระหว่างประเทศอย่างมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อดุลยภาพในประโยชน์แห่งชาติและความร่วมมือระหว่างประเทศ พระราชบัญญัติสิทธิบัตรเครื่องหมายการค้าเป็นสิ่งยืนยันแนวทางนี้ เพระขระที่มีการร่างกฎหมายเหล่านี้ก็ยอมรับกฎดกณฑ์นี้ใช้กันอย่างกว้างขวางโดยสมัครใจ

    ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศสมาชิกของ WTO และเป็นประเทศกำลังพัฒนา การตรากฎหมายใหม่ตลอดจนการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สอดคล้องเป็นไปตามความตกลง TIRPs จะต้องทำให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000 ) ขณะที่เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000 ) กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งแก้ไขปรับปรุงและตราขึ้นเพื่อเป็นไปตามความตกลง TIRPs มีดังนี้
    1. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994)
    2. พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999)
    3. พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)
    4. พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999)
    5. พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)
    นอกเหนือจากกฎหมายดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีร่างกฎหมายอีก 2 ฉบับ ซึ่งอยู่ในขั้น ตอนกระบวนการทางนิติบัญญัติ คือ กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองความลับทางการค้า อย่างไรก็ตาม คาดกันว่าประเทศไทยจะบรรลุตามพันธกรณีภายในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) เมื่อได้รับการตราเป็นกฎหมายเรียบร้อยแล้ว
     
    กรุณาเข้า สู่ระบบ ก่อนทำการเขียนข้อความ