0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 452 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-10-22
จำนวนครั้งที่ชม : 8,642,758 ครั้ง
Online : 44 คน
Photo

    ทายาทมอบอำนาจให้บุคคลอื่นยื่นเป็นผู้จักการมรดก


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2024-03-14 17:52:08 (IP : , ,171.6.228.10 ,, Admin)
    ปัญหามรดก
    ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่น เป็นผู้รับมอบอำนาจ และ ให้มีอำนาจในการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก และให้ผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้จัดการมรดก ได้หรือไม่
    1. ทายาท มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ร้องตั้งผู้จัดการมรดกได้
    2. ทายาท มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้จัดการมรดกได้
    เหตุผล เพราะว่า แม้การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ศาลฎีกาจะตีความว่า เป็นอำนาจโดยเฉพาะของทายาทผู้ที่มีสิทธิรับมรดกก็ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทายาทจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นยื่นคำร้องแทนไม่ได้ เพราะการยื่นคำร้องต่อศาลนั้น เป็นกิจการที่สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนได้
    เทียบ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3356 - 3357/2558 วินิจฉัยว่า
    " มารดาของเจ้ามรดก ในฐานะทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก มีอำนาจมอบอำนาจให้กับบุคคลอื่นยื่นคำร้องตั้งผู้จัดการมรดกแทนตนเองได้"
    เทียบ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2518 วินิจฉัยว่า
    " ผู้ร้องมิได้เป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตาย และมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก เพียงแต่ทายาททั้งหลายพร้อมใจกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้จัดการมรดก แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้รับมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องตั้งผู้จัดการมรดกแทนทายาท ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลได้ "
     ** คดีตามฎีกานี้ บรรดาทายาทตกลงกันแล้วว่าให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแทนบรรดาทายาท แต่บรรดาทายาทมิได้มอบอำนาจให้ผู้ร้องไปยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกแทนบรรดาทายาท ซึ่งน่าจะเกิดจากการเข้าใจผิด โดยบรรดาทายาทเข้าใจว่า เมื่อให้มีอำนาจเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ก็เท่ากับว่าผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลได้ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นความเข้าใจผิด เพราะการรับมอบอำนาจเป็นผู้จัดการมรดก กับการรับมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องตั้งผู้จัดการมรดก นั้นเป็นคนละส่วนกัน **ทางแก้ของคดีนี้ ให้บรรดาทายาททำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องตั้งผู้จัดการมรดกแทนบรรดาทายาทได้ เพิ่มเติมจากหนังสือมอบออำนาจให้เป็นผู้จัดการมรดก
    ดังนั้น จึงสรุปว่า
    (1) ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก มอบอำนาจให้บุคคลอื่น "ยื่นคำร้อง" ขอตั้งผู้จัดการมรดกแทนทายาทได้ ให้ระบุในหนังสือมอบอำนาจให้ชัดเจนว่าให้มีอำนาจยื่นคำร้องตั้งผู้จัดการมรดกแทนได้ และให้มีอำนาจอื่นๆในกระบวนพิจารณาในชั้นศาลได้ด้วย เช่น ตั้งแต่งทนายความ เป็นต้น
    (2) ทายาทมีอำนาจ มอบอำนาจให้บุคคลอื่น "เป็นผู้จัดการมรดกแทนทายาท" ได้ โดยให้ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจให้ชัดเจนว่าทายาท (ทุกคน / หรือถ้ามีทายาทคนเดียวก็ระบุไว้ให้ชัดเจน) ให้บุคคลอื่นมีอำนาจเป็นผู้จัดการมรดกแทนทายาทได้
    ** ในกรณีที่ ผู้จัดการมรดกเป็นผู้รับมอบอำนาจจากทายาท หากว่าผู้จัดการมรดกตายหรือจัดการมรดกไม่ได้ จะต้องเอาอำนาจนี้กลับไปหาทายาทเท่านั้น จะเอาอำนาจนี้ส่งต่อให้กับทายาทของผู้รับมอบอำนาจไม่ได้ เพราะถือว่าไม่ใช่อำนาจของผู้รับมอบอำนาจโดยตรงนั่นเอง
    (เทียบ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4547/2562)
    สาระสำคัญ จะอยู่ที่ หนังสือมอบอำนาจ โดยในหนังสือมอบอำนาจจะต้องระบุอำนาจของผู้รับมอบอำนาจให้ชัดเจน โดยทั้งอำนาจในการยื่นคำร้องตั้งผู้จัดการมรดก และอำนาจในการเป็นผู้จัดการมรดก สามารถทำในหนังสือมอบอำนาจฉบับเดียวกันได้ ไม่จำต้องแยกเป็นคนละฉบับก็ได้ เพราะถือว่าผู้รับมอบอำนาจมีคนเดียวอยู่แล้ว เพียงแต่จะต้องแยกอำนาจไว้เป็นข้อๆให้ชัดเจนว่าให้มีอำนาจทำอะไรแทนได้บ้าง
     



    Please login for write message