0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 452 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-10-22
จำนวนครั้งที่ชม : 8,642,747 ครั้ง
Online : 43 คน
Photo

    การทำพินัยกรรมของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วย


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2024-02-17 12:28:11 (IP : , ,171.6.231.44 ,, Admin)
    ทรัพย์สินก่อนตาย – PROMSAK LAWYER
    การทำพินัยกรรมของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วย
    ในทางปฏิบัติ สำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ เมื่อจะต้องทำพินัยกรรม ก็จะให้แพทย์รับรองให้ โดยให้แพทย์ออก "ใบรับรองแพทย์" ให้ว่า ผู้ทำพินัยกรรม เป็นผู้ที่มีสติสัมปชัญญะดี เพื่อป้องกันปัญหาการโต้เถียงกันว่าตกลงแล้วผู้ทำพินัยกรรมมีความสามารถหรือไม่
    คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 6522/2561 วินิจฉัยว่า
    "ขณะทำพินัยกรรม นางระเบียบ มีใบรับรองแพทย์มาแสดง ซึ่งนายแพทย์สุวิทย์พยานโจทก์ทั้งสองก็รับรอง ว่า พยานเป็นผู้ออกใบรับรองแพทย์ให้นางระเบียบจริง รับรองว่านางระเบียบมีสุขภาพแข็งแรงตามอายุ มีสติสัมปชัญญะดี ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่า ขณะทำพินัยกรรมฉบับพิพาทนางระเบียบมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ไม่ได้เป็นบุคคลวิกลจริตและทำพินัยกรรมฉบับพิพาทโดยความสมัครใจ "
    ตามกฎหมาย เงื่อนไขแรกที่จะพิจารณาพินัยกรรม คือ ผู้ทำพินัยกรรมมีความสามารถหรือไม่ เพราะเหตุว่า การทำพินัยกรรมเป็นการแสดงเจตนาอย่างหนึ่ง ดังนั้น ผู้ที่จะแสดงเจตนาได้จึงต้องเป็นผู้ที่มีสติสัมปชัญญะดี ต้องเข้าใจในสิ่งที่ตนเองทำ ต้องรู้เรื่อง ต้องไม่สำคัญผิด ซึ่งให้นำบทบัญญัติเรื่องการแสดงเจตนา ตามลักษณะ 4 นิติกรรม หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป ของ ป.พพ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ผลของการแสดงเจตนาในการทำพินัยกรรม ถ้าเป็นการแสดงเจตนาที่ไม่สมบูรณ์ ผลของพินัยกรรมจะต้อง "ตกเป็นโมฆะ" ไม่ใช่ตกเป็นโมฆียะ แต่ศาลอาจจะใช้คำว่า "ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย"ก็ได้ เพราะก็ไม่แตกต่างกัน
     คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 6297/2556 วินิจฉัยว่า
    " การทำพินัยกรรม คือ การแสดงเจตนา กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 และ 1647 แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะทำพินัยกรรม ผู้ตายไม่รู้สึกตัว ไม่มีสติสัมปชัญญะ พูดจาไม่ได้ บังคับร่างกายของตนก็ไม่ได้ จึงไม่สามารถที่จะแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายได้ด้วยตนเอง ข้อความในพินัยกรรมจึงมิใช่เจตนาอันแท้จริงของผู้ตาย แต่เป็นข้อความที่แสดงเจตนาของผู้แอบอ้างจัดทำขึ้นเอง จึงเป็นพินัยกรรมปลอม ไม่มีผลบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว "
    มีปัญหาว่า ถ้าแพทย์เคยลงความเห็นไว้แล้วว่า ผู้ทำพินัยกรรมเป็นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) หรือโรคสมองเสื่อม ในภายหลังแพทย์จะรับรองว่าผู้ทำพินัยกรรมมีสติสัมปชัญญะดีได้หรือไม่ ประเด็นนี้ถือว่าเป็นปัญหาข้อเท็จจริง และจะต้องนำแพทย์มาเบิกความเป็นพยานว่า คนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) หรือโรคสมองเสื่อม สามารถกลับมาหายได้หรือไม่ หรือสามารถมีช่วงเวลาที่จะกลับมามีสติสัมปชัญญะได้หรือไม่ ประเด็นนี้ต้องอาศัยความเห็นของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและหลักวิชาทางการแพทย์และลักษณะของโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) หรือโรคสมองเสื่อม ซึ่ง ศาลฎีกา เคยวินิจฉัยเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) หรือโรคสมองเสื่อม ในคดีพินัยกรรมเอาไว้ ว่า
    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5972 - 5973/2538 วินิจฉัยว่า
    " ก่อนทำพินัยกรรม ผู้ทำพินัยกรรมเป็นโรคสมองเสื่อม ซึ่งหมายความว่า เซลล์สมองตายไปสมองส่วนที่เหลือมีจำนวนน้อย สติความรับรู้จึงมีน้อยกว่าปกติ เห็นว่า นายแพทย์กีรติพยานจำเลยปากนี้ ไม่มีส่วนได้เสียกับคู่ความฝ่ายใด ทราบข้อเท็จจริงโดยการตรวจรักษาและการเอกซ์เรย์สมองของผู้ป่วย และ ได้เบิกความไปตามหลักวิชาทางการแพทย์ คำเบิกความจึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้ จึงเห็นว่า ผู้ทำพินัยกรรม มีอาการสมองเสื่อม ความจำเลอะเลือนเช่นนี้ ย่อมทำให้นางเล็กมีสติสัมปชัญญะและความรู้น้อยกว่าปกติไม่น่าเชื่อว่าขณะทำพินัยกรรมที่โจทก์นำสืบ ว่า ขณะทำพินัยกรรมนางเล็กเจ้ามรดกลงลายพิมพ์นิ้วมือลงในพินัยกรรมขณะที่มีสติสัมปชัญญะดีอยู่นั้น เห็นว่า โจทก์มีพยานที่รู้เห็นขณะที่นางเล็กทำพินัยกรรม เพียงสองคน คือ นายภูษิต สงวนสัตย์ กับนายเถลิง มุทิตานันท์ แต่บุคคลทั้งสอง ล้วนแต่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องมีส่วนได้เสีย กับโจทก์ หรือ มีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวกับทรัพย์มรดก และการที่ปกปิดไม่ให้ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน กับเจ้ามรดกรู้เห็นด้วย ยิ่งสนับสนุนให้เห็นถึงความผิดปกติในการจัดทำพินัยกรรมมากขึ้น ดังนั้น คำเบิกความของพยานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนัก จึงพิพากษาให้พินัยกรรมไม่มีผลใช้บังคับ .....""
    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6417/2537 วินิจฉัยว่า
    "ผู้ทำพินัยกรรม ป่วยด้วยโรคมือเท้าสั่น สมองเสื่อม กระดูกคองอกทับเส้นเลือด ทำให้เลือดขึ้นสมองน้อยกว่าปกติ สมองเหี่ยวความจำเสื่อม หลงลืมง่าย มีความคิดอ่านไม่ปกติ พูดจารู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ได้ถูกผู้อื่นชักชวนให้ ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ยกทรัพย์สินให้ผู้มีชื่อ จึงถือว่าเป็นการทำพินัยกรรมโดยไม่ความสามารถ และจริตวิกล พินัยกรรมจึงตกเป็นโมฆะ"
     
     



    Please login for write message