0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 452 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-10-22
จำนวนครั้งที่ชม : 8,642,785 ครั้ง
Online : 57 คน
Photo

    หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2024-02-17 10:08:03 (IP : , ,171.6.231.44 ,, Admin)
    มอบอำนาจให้ผู้พิจารณาลงนาม (ตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการออกหนังสือ ...
    หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี
    แนบหนังสือมอบอำนาจไปพร้อมกับคำฟ้องแล้ว แต่มาตรวจในภายหลัง  พบว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมิได้ระบุชื่อของจำเลยที่ถูกฟ้อง        มีประเด็นนี้ขึ้นสู่ศาลฎีกา  ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
               คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 5149/2561  วินิจฉัยว่า"การมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดี ไม่จำต้องระบุบุคคลที่จะถูกฟ้องไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นผู้ใด รวมทั้งไม่ต้องระบุว่าให้ฟ้องในข้อหาใดเช่นกัน   การมอบอำนาจของโจทก์ให้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ชอบแล้ว "
               คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 7391/2547  วินิจฉัยว่า"จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องมิได้ระบุว่าให้ นายจรูญ ไหคำ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์มีอำนาจเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลในคดีนี้ รวมทั้ง มิได้ระบุข้อหา หรือความผิดฐานใด ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์
     ศาลฎีกา เห็นว่า  หนังสือมอบอำนาจได้ระบุไว้แล้วว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับผู้มอบอำนาจ ดังนั้น  คดีแพ่ง หรือคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับผู้มอบอำนาจ   ผู้รับมอบอำนาจย่อมฟ้องคดีต่อศาลได้ทั้งสิ้น  เมื่อฟังได้ว่าจำเลยมีหนี้สินค้างชำระกับผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจจึงอาศัยอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวฟ้องจำเลยต่อศาลเป็นคดีนี้ได้ "
     คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 2303/2534  วินิจฉัยว่า
                 "หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่จำต้องระบุบุคคลที่ต้องถูกฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นจำเลยหรือผู้ใด แม้หนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับคดีไม่ได้ระบุว่ามอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยทั้งสองแต่ก็มีข้อความไว้แล้วว่าโจทก์มอบอำนาจให้_ส_ฟ้องคดีแพ่งแทนและในนามของโจทก์ได้ ส. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ "
                 คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 2155/2535  วินิจฉัยว่า
                 " หนังสือมอบอำนาจ ได้ระบุข้อความว่า "เรียกร้อง ทวงถามให้ชำระหนี้ แจ้งการบังคับจำนองหรือจำนำ ดำเนินคดีฟ้องร้อง แก้ต่างทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา รวมทั้งการร้องทุกข์ ฯลฯ" แม้จะไม่ได้ระบุชื่อของจำเลยหรือบุคคลใดที่จะถูกฟ้องไว้ก็ตาม แต่ก็ถือว่าบุคคลใดที่โต้แย้งสิทธิของผู้มอบอำนาจ  ผู้รับมอบอำนาจย่อมฟ้องบุคคลดังกล่าวได้ทั้งสิ้น ไม่จำเป็นที่หนังสือมอบอำนาจจะต้องระบุชื่อของจำเลย เหตุเพราะว่าไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ต้องระบุเช่นนั้น "
    จากแนวทางการตัดสินเรื่องหนังสือมอบอำนาจของศาลฎีกา สรุปว่า  หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี หรือให้ดำเนินคดีนั้น ไม่จำเป็นต้องระบุชื่อของผู้ที่จะถูกดำเนินคดี   และไม่จำเป็นต้องระบุว่าจะดำเนินคดีในข้อหาหรือฐานความผิดใด  เพียงแต่จะต้องมีความชัดเจนว่า มอบอำนาจให้ใครและมอบอำนาจให้ทำอะไรได้บ้าง  เพียงเท่านี้ก็ใช้ได้แล้ว
             ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจที่ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า   มอบอำนาจให้ใคร    และมอบอำนาจให้ทำอะไร จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ใช้ได้ตาม
     



    Please login for write message