0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 452 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-10-22
จำนวนครั้งที่ชม : 8,642,866 ครั้ง
Online : 97 คน
Photo

    สิทธิของผู้ค้ำประกันและข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกัน


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2024-01-27 14:14:56 (IP : , ,171.6.231.205 ,, Admin)
    Admin Edit : 2024-01-27 14:30:30
    Emojipedia Measuring Scales Symbol Balans, Emoji transparent background ...
    สิทธิของผู้ค้ำประกันและข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกัน
    ในปัจจุบันการกู้ยืมเงินธนาคารหรือในการทำสัญญาต่างๆต้องให้มีบุคคลมาค้ำประกัน ซึ่งเราเองอาจเป็นผู้ค้ำประกันโดยอาจเกิดจากพ่อแม่พี่น้อง ญาติ เพื่อน หรือเพื่อนๆทางธุรกิจ ขอให้ค้ำประกันให้ด้วยเพราะความไว้เนื้อเชื่อใจเราเลยค้ำประกันให้ ปรากฏว่าต่อมาคนที่เราให้ความไว้เนื้อเชื่อใจ เขาไม่ชำระหนี้ หรืออาจหนีหนี้ไปเลย เราในฐานะผู้ค้ำประกัน ก็ต้องชดใช้เงินแทนบุคคลที่เราให้ความไว้เนื้อเชื่อใจ ซึ่งเราในฐานะผู้ค้ำประกันเราจะต่อสู้เจ้าหนี้อย่างไร
    ตามกฎหมายแล้วผู้ค้ำประกันมีสิทธิ 5 ข้อต่อไปนี้ใช้ต่อสู้เจ้าหนี้ได้
    1. สิทธิไม่ชำระหนี้ก่อนกำหนด เป็นกรณีที่ลูกหนี้ไม่อาจถือประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา ซึ่งมีอยู่ 4 กรณี
    1.1  ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
    1.  ลูกหนี้ไม่ให้ประกันในเมื่อจำต้องให้
    2.  ลูกหนี้ได้ทำลายหรือทำให้ลดน้อยถอยลงซึ่งหลักประกันอันได้ให้ไว้
    3. ลูกหนี้นำทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาให้เป็นประกันโดยเจ้าของทรัพย์สินนั้นไม่ยินยอม
    ถ้าลูกหนี้ได้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 ประการนี้ ถือว่าลูกหนี้ไม่อาจถือประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาได้ ดังนั้น แม้ว่าหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ก็มีสิทธิฟ้องลูกหนี้ได้ทันทีแต่ยังไม่มีสิทธิฟ้องผู้ค้ำประกัน
    1.  สิทธิของผู้ค้ำประกันที่จะเกี่ยง สิทธิของผู้ค้ำประกันที่จะเกี่ยงอาจแบ่งได้ 3 กรณี
    กรณีแรก ผู้ค้ำประกันขอให้เรียกลูกหนี้ชำระหนี้ กล่าวคือ เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตรงตามกำหนดไว้ในสัญญา ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด เจ้าหนี้ยังไม่มีสิทธิฟ้องผู้ค้ำประกัน เว้นแต่เจ้าหนี้ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวชำระหนี้มายังผู้ค้ำประกัน ดังนั้น ถ้าเจ้าหนี้ไม่ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้
    กรณีสอง ผู้ค้ำประกันขอให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน หมายความว่าเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ก่อน ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ถึงจะให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทน ดังนั้น เมื่อลูกหนี้และผู้ค้ำประกันแพ้คดี การบังคับปกติแล้วจะต้องบังคับชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อน ถ้าปรากฏว่าเจ้าหนี้ไปบังคับคดียึดทรัพย์ผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันใช้สิทธิของให้เจ้าหนี้บังคับทรัพย์จากลูกหนี้ก่อน
    ตัวอย่าง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ ลูกหนี้ผู้กู้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ ถ้าไม่ชำระหนี้ให้ผู้ค้ำประกันชำหนี้แทน เจ้าจึงต้องดำเนินการบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน เมื่อผู้ค้ำประกันอ้างว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ได้และการบังคับคดีเอาจากทรัพย์ของตัวลูกหนี้ไม่เป็นการยาก แม้ว่าทรัพย์สินของลูกหนี้ไปขายนั้นไม่สามารถขายได้ เจ้าหนี้ยังไม่มีสิทธิมาบังคับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน
    กรณีสาม ผู้ค้ำประกันขอให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์ซึ่งเป็นหลักประกันก่อน หมายความว่า ถ้าเจ้าหนี้มีทรัพย์ของลูกหนี้ยึดถือไว้เป็นประกัน ผู้ค้ำประกันมีสิทธิร้องขอให้ให้เจ้าหนี้เอาทรัพย์ลูกหนี้มาชำระหนี้ก่อนได้
    1.  เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงลดหนี้มีผลต่อผู้ค้ำประกัน
    เป็นสิทธิผู้ค้ำประกันในอันที่จะชำระแทนลูกหนี้ เมื่อเจ้าหนี้และลูกหนี้ กระการใดๆอันมีผลเป็นการลดจำนวนหนี้ที่มีการค้ำประกัน ทำให้ผู้ค้ำประกันมีสิทธิที่จะชำระหนี้ที่ลดน้อยลงด้วย เช่นปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เป็นต้น
    1.  สิทธิขอผู้ค้ำประกันยกข้อต่อสู้ลูกหนี้สู้เจ้าหนี้
    เป็นกรณีที่ว่ามีข้อต่อสู้ของลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันก็มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้ได้ เช่น ลูกหนี้ไม่ได้ผิดสัญญา เจ้าหนี้ต่างหากเป็นฝ่ายผิดสัญญาการชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัย ลูกหนี้ไม่ได้ทำละเมิด ลูกหนี้ชำระหนี้หมดและทำให้ไม่มีหนี้ต่อกัน หรือหนี้ขาดอายุความ ซึ่งเป็นขอต่อสู้ลูกหนี้ กฎหมายก็ให้สิทธิผู้ค้ำประกันยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้
    1.  สิทธิไล่เบี้ยและรับช่วงสิทธิ ข้อต่อสู้ในเรื่องนี้มี 2 เรื่อง
    5.1  เป็นเรื่องผู้ค้ำประกันมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้
    5.2  ผู้ค้ำประกันมีสิทธิรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้
    กรณีแรก เช่น ลูกหนี้กู้ยืม 200,000 บาท แล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้มีดอกเบี้ยค้างชำระอีก 20,000 บาท ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ไปทั้งหมด 220,000 บาท คือ เงินต้น 200,000 บาท ดอกเบี้ยอีก 20,000 บาท เมื่อผู้ค้ำประกันใช้สิทธิไล่เบี้ยจากลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพราะเหตุผิดนัดได้ด้วย คือได้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย
    กรณีสอง ผู้ค้ำประกันรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แล้วมีสิทธิ เข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ทำให้ผู้ค้ำประกันสามารถจะใช้สิทธิของเจ้าหนี้ที่มีต่อลูกหนี้ เช่นลูกหนี้กู้เงินเจ้าหนี้โดยลูกหนี้เอาแหวนไปจำนำเป็นประกัน และมีผู้ค้ำประกันการชำระหนี้นั้นด้วย เมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้และรับช่วงสิทธิจำนำแหวนจากเจ้าหนี้ได้ด้วย ผู้ค้ำประกันมีสิทธิบังคับจำนำแหวนวงนั้นได้เสมือนผู้ค้ำประกันเป็นเจ้าหนี้หรือผู้รับจำนำแหวนวงนั้น



    Please login for write message