0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 452 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-12-22
จำนวนครั้งที่ชม : 8,781,841 ครั้ง
Online : 66 คน
Photo

    กฎหมายว่าด้วยเบี้ยปรับ


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2021-06-13 16:11:59 (IP : , ,49.228.187.63 ,, Admin)
    See the source image
    เบี้ยปรับ
              เบี้ยปรับ คือ ข้อตกลงที่กำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า คู่สัญญาได้ตกลงกำหนดกันไว้ล่วงหน้าในสัญญาว่า ถ้ามีการผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือการชำระหนี้ไม่ถูกต้อง หรือมีการกระทำอันฝ่าฝืนสัญญา จะให้เบี้ยปรับเพื่อตอบแทนค่าเสียหาย
    เบี้ยปรับอาจกำหนดไว้เป็นตัวเงิน หรือเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนก็ได้
    ผลของการกำหนดเบี้ยปรับ
    ๑. เมื่อมีการชำระหนี้ตามสัญญาถูกต้องครบถ้วน การเรียกให้ชำระเบี้ยปรับ หรือการริบเบี้ยปรับก็ไม่อาจกระทำได้ เพราะไม่มีการผิดสัญญา
    ๒. เมื่อไม่มีการชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ไม่ถูกต้อง เจ้าหนี้สามารถริบหรือเรียกเบี้ยปรับได้
    - หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เลยเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับแทนการชำระหนี้ เมื่อเรียกเบี้ยปรับแล้ว จะเรียกให้ชำระหนี้ไม่ได้ ตามป.พ.พ. มาตรา ๓๘๐ วรรคหนึ่ง “ ถ้าลูกหนี้ได้สัญญาไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นแทนการชำระหนี้ก็ได้ แต่ถ้าเจ้าหนี้แสดงต่อลูกหนี้ว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับฉะนั้นแล้ว ก็เป็นอันขาดสิทธิเรียกร้องชำระหนี้อีกต่อไป”
    - หากลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ถูกต้อง คือมีการชำระหนี้ แต่การชำระหนี้นั้นอาจขาดตกบกพร่องหรือล่าช้าไป โดยไม่เป็นไปตามกำหนดของสัญญา ถ้าได้กำหนดเบี้ยปรับเป็นเงิน ถ้าลูกหนี้ได้สัญญาไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เช่นว่าไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้เป็นต้น นอกจากเรียกให้ชำระหนี้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นอีกด้วยก็ได้ ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้บอกสงวนสิทธิไว้เช่นนั้นในเวลารับชำระหนี้ (มาตรา ๓๘๑)
    ๓. เมื่อการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย โดยลูกหนี้ไม่ผิด เจ้าหนี้จะเรียกเบี้ยปรับไม่ได้
    จำนวนเบี้ยปรับที่ริบได้
    โดยหลักแล้ว เบี้ยปรับสามรถริบหรือเรียกได้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา
    แต่กฎหมายให้อำนาจศาลที่จะลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้ตามสมควร หากเบี้ยปรับนั้นสูงเกินไป
    คำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับเรื่องเบี้ยปรับ
    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2534 จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ค่างานงวดสุดท้ายตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์ โดยจำเลยมิได้ทักท้วงว่าโจทก์ทำงานล่าช้ากว่ากำหนดและจะใช้สิทธิปรับโจทก์ตามสัญญาแต่อย่างไร คดีฟังได้ว่าจำเลยยอมต่ออายุสัญญาให้โจทก์โดยไม่ติดใจที่จะบังคับเอาเบี้ยปรับจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับจากโจทก์โดยการหักจากหนี้เงินตามเช็คพิพาท
     คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2538 โจทก์ทำสัญญากับจำเลยว่าหากโจทก์ส่งปฏิทินและสมุดบันทึกที่จำเลยสั่งให้โจทก์จัดพิมพ์ไม่ทันกำหนดยินยอมให้ปรับวันละ1,000บาทเป็นข้อสัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรซึ่งนอกจากเรียกให้ชำระหนี้แล้วจำเลยจะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นอีกด้วยก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา381วรรคหนึ่งโดยต้องบอกสงวนสิทธิดังกล่าวต่อเมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลยโดยสิ้นเชิงแล้วและจำเลยรับชำระหนี้นั้นเมื่อโจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบปฏิทินและสมุดให้จำเลยครบถ้วนตามสัญญาจำเลยจึงหาหมดสิทธิจะเรียกเอาเบี้ยปรับไม่
    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2552 สัญญาให้บริการวงจรสื่อสัญญาณความเร็วสูงภายในประเทศระบุว่า "ในกรณีที่ผู้ใช้บริการผิดนัดชำระหนี้ค่าใช้บริการ...ผู้ใช้บริการยินยอมเสียค่าปรับในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน สำหรับค่าใช้บริการที่ค้างชำระ" อันเป็นกรณีที่ลูกหนี้สัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 หาใช่ดอกเบี้ยไม่และไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดอัตราไว้ โจทก์จึงมีสิทธิคิดเบี้ยปรับกรณีจำเลยผิดนัดชำระหนี้ค่าใช้บริการในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน หรืออัตราร้อยละ 24 ต่อปีได้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลดเบี้ยปรับลงเป็นอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงเป็นคุณแก่จำเลยแล้ว
    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9320/2558 การคิดเงินเพิ่มในกรณีชำระค่าส่วนกลางล่าช้า มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่โจทก์ที่ ๑ กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เป็นเบี้ยปรับตามมาตรา ๓๗๙ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนซึ่งศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามมาตรา ๓๘๓ วรรคหนึ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2535 คดีนี้จำเลยทั้งสองผิดสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกัน และโจทก์ได้ยึดรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อกลับคืนแล้ว เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามเอกสารหมาย จ.5 จำเลยที่ 1ที่ 2 ได้ตกลงทำหนังสือรับสภาพหนี้ยินยอมใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน 80,000 บาท แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาผูกพันจะชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 80,000 บาท จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าเสียหายให้โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้น ส่วนดอกเบี้ยที่กำหนดตามหนังสือรับสภาพหนี้ร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่จำเลยผิดนัดนั้น ศาลฎีกาเห็นว่าการคิดดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นกรณีกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้า ศาลมีอำนาจลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยให้โจทก์ร้อยละ 7.5 ต่อปี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2530 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดทวงถาม จึงชอบแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา" พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินให้โจทก์80,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2530 จนกว่าจะชำระเสร็จ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
          ปรึกษาทนายโทร 0971176877 ทนายกาญจน์
     



    Please login for write message