0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 452 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-12-22
จำนวนครั้งที่ชม : 8,781,953 ครั้ง
Online : 111 คน
Photo

    ผู้ค้ำประกันตามกฎหมายใหม่


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2020-09-25 09:49:50 (IP : , ,49.49.242.165 ,, Admin)
    ในภาพอาจจะมี 1 คน
     
    การค้ำประกันและจำนองที่แก้ไขใหม่ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20 )
         หลักประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
        คือ การประกันด้วยบุคคล (ค้ำประกัน) และการประกันด้วยทรัพย์ (จำนอง,จำนำ) ซึ่งหลักกฎหมายว่าด้วยค้ำประกันและจำนองนั้นค่อนข้างจะนิ่งมาหลายปี โดยมีการแก้ไขเล็กน้อยเมื่อปีพ.ศ.2548 เท่านั้น"
    แต่อย่างไรก็ตามสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหลักกฎหมายว่าด้วยเรื่องค้ำประกันและจำนองครั้งใหญ่ผ่านพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๙๕๗ โดยมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒55๘ เป็นตันไป" และมีแก้ไขเพิ่มเติมอีกครั้งโดย
    พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่๒๑) พ.ศ.2558 โดยมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ๒55๘ เป็นตันไป" ซึ่งกฎหมายค้ำประกันและจำนองที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ มีหลากหลายประเด็นที่มีผลเปลี่ยนแปลงสิทธิและความรับผิดในส่วนของผู้ค้ำประกัน และ
    ผู้จำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ได้นำทรัพย์สินของตนเองมาเป็นหลักประกันหนี้ ดังนั้น บทความเรื่องนี้จึงมุ่งศึกษาและวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจถึงสาระสำคัญและข้อควรพิจารณาในมิติต่าง ๆ ของหลักกฎหมายที่แก้ไขใหม่ทั้งสองฉบับเป็นสำคัญ
     
    ๑. เจตนารมณ์แห่งการแก้ไขกฎหมาย
        ตามกฎหมายใหม่ ที่มีการประกาศใช้นั้นได้ให้เหตุผลแห่งการประกาศใช้กฎหมายไว้ในส่วนหมายเหตุไว้ว่า " ... โดยที่บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันไม่เพียงพอที่จะให้ความคุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ประกันและผู้จำนองซึ่งไม่ใช่ลูกหนี้ชั้นต้น แต่เป็นเพียงบุคคลภายนอกที่ยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ในการที่จะชำระหนี้แทนลูกหนี้เท่านั้น โดยข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติปรากฏว่าเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพให้ยืมมักจะอาศัยอำนาจอรองที่สูงกว่าหรือความได้เปรียบในทางการเงินกำหนดข้อตกลงอันเป็นการยกเว้นสิทธิของผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือให้ผู้จำนองหรือผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้น จึงส่งผลให้ผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองซึ่งเป็นประชาชนทั่วไปไม่ได้รับความคุ้มครองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย รวมทั้งต้องกลายเป็น
    ผู้ถูกฟ้องล้มละลายอีกเป็นจำนวนมาก ..."
     
        เมื่อพิจารณาตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวข้างตัน จะเห็นว่าปัญหาสำคัญอันเป็นตันเหตุให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายคือปัญหาอำนาจต่อรองที่ไม่เท่าเทียมกัน (Unbargaining Power) ระหว่างธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้กับตัวผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนอง ซึ่งจะว่ากันตามกฎหมายแล้วทั้งหนี้ค้ำประกันก็ดี หนี้จำนองก็ดีถือเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์นั้น ดังนี้ ฐานะของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองควรจะอยู่เพียงแต่ลูกหนี้ชั้นรองโดยแท้จริงเท่านั้น แต่ในปัจจุบันพบว่ามีการกำหนดข้อตกลงในสัญญากำหนดให้ทั้ง
    ผู้ค้ำประกันและผู้จำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่นำทรัพย์สินของตนมาประกันต่อเจ้าหนี้ด้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ นั่นหมายความว่าเป็นการเปลี่ยนฐานะของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองให้มีฐานะเสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้นด้วย ซึ่งเจ้าหนี้สามารถฟ้องเรียกให้ผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองรับผิดได้ทันทีเมื่อลูกหนี้ผิดนัด นอกจากนี้ยังมีข้อตกลงที่มีลักษณะเอาเปรียบและลิดรอนสิทธิของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองตามที่กฎหมายให้ไว้ในหลายกรณี อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่๑๗๙๗๒๕๔๙, ๑๑๖๐๓/๒๕๕๓ และ ๖๐๘๘๒๕๕๐ แล้วจะพบว่าในบางคดีศาลก็ได้มีความพยายามแก้ไขข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นโดยไม่ยอมบังคับให้ตามข้อสัญญาค้ำประกันหรือสัญญาจำนองซึ่งทำให้ผู้ค้ำประกันและผู้จำนองเสียเปรียบ เพราะแม้ข้อสัญญาดังกล่าวนี้จะเป็นการสมัครใจเข้าทำสัญญาของทั้งผู้ค้ำประกันและผู้จำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเองก็ตาม แต่ก็เป็นข้อตกลงที่อาจเข้าลักษณะของข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม (Unfair Contract) ซึ่งผู้ค้ำประกันและผู้จำนองไม่ได้มีอำนาจต่อรองที่สมอภาคกับสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้
     
        ดังนั้น เพื่อให้เกิดการคุ้มครองกรณีผู้ค้ำประกันและผู้จำนองที่เป็นบุคคลภายนอกที่ชัดเจนและเป็นธรรมเนื้อหาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒) ผศ. ๒๕๕๗ นี้จึงมีเนื้อหาเน้นหนักไปในทางคุ้มครองสิทธิของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองโดยเฉพาะผู้จำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากข้อสัญญาที่ทำกับผู้ประกอบการซึ่งเป็นสถาบันการเงินเป็นสำคัญและพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่๒๑) พ.ศ.๒๕๔๘ มีเนื้อหามุ่งเน้นให้เกิดความเหมาะสมแก่การประกอบธุรกิจในปัจจุบัน โดยเปิดโอกาสให้มีการเข้าทำสัญญาค้ำประกันได้ในบางกรณี ดังจะได้กล่าวต่อไป
     
     การค้ำประกันหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไข
        หนี้ในอนาคต หมายถึง หนี้ที่อาจเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ในอนาคต" เช่น การค้ำประกันหนี้อันเกิดจากการทำงาน (ฎ๑๓๗๗๒๑๓ (ประชุมใหญ่) ฎ. ๓๙๒๒๕๐๒) หนี้เบิกเงินเกินบัญชี (ฎ๑๘๐๒/๒๕๑๖ (ประชุมใหญ่)
    ฎ ๑๘๘๗๒๕๖) ค้ำประกันผู้ที่ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ (ฎ๑๔๙b/c๙๒๓,ฏ๑๗d๒๕๓) เป็นตันส่วนหนี้มีเงื่อนไขนั้นหมายถึง หนี้ประธานที่เงื่อนไขบังคับก่อน ซึ่งหนี้นั้นจะสมบูรณ์เมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จ (ฎ๑๕๕๗/๒๕๒๔) ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดิมนั้น ยอมให้หนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขสามารถที่จะมีการค้ำประกันได้ เพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมทางการพาณิชย์ที่อาศัยความเชื่อมั่นของตัวเจ้าหนี้เป็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติหนี้ได้มีการกำหนดข้อสัญญาให้ค้ำประกันต้องรับผิดในหนี้สินทั้งปวงที่ลูกหนี้ก่อให้เกิดขึ้นในอนาคต โดยที่ผู้ค้ำประกันไม่มีโอกาสทราบได้ว่าการรับผิดนั้นจะต้องรับผิดในวงเงินเท่าใด เป็นระยะเวลานานเท่าใด และจะต้องรับผิดในมูลหนี้อะไรบ้าง ซึ่งข้อสัญญาที่ได้กำหนดขึ้นเหล่านี้ถือเป็นข้อสัญญาที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นอย่างมากในอันที่จะสุ่มเสี่ยงถูกเจ้าหนี้ฟ้องคดีในอนาคต นอกจากนี้บทบัญญัติดังกล่าวยังได้ถูกนำไปบังคับใช้อนุโลมในกรณีหนี้จำนองด้วย" ซึ่งมีผลให้ผู้จำนองต้องรับภาระต่อหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างไม่มีขอบเขตทำนองเดียวกับผู้ค้ำประกัน ดังนั้น ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๕๗ มาตรา ๓ จึงกำหนดให้ยกเลิกบทบัญญัติมาตรา ๖๘๑ (เดิม)" และให้ใช้บทบัญญัติดังนี้แทน มาตรา ๖๘๑ อันค้ำประกันนั้นจะมีได้แต่เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์ หนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไข จะประกันไว้เพื่อเหตุการณ์ซึ่งหนี้นั้นอาจเป็นผลได้จริงก็ประกันได้ แต่ต้องระบุวัตถุประสงค์ในการก่อหนี้รายที่ค้ำประกัน ลักษณะของ
    มูลหนี้จำนวนเงินสูงสุดที่ค้ำประกัน และระยะเวลาในการก่อหนี้ที่จะค้ำประกัน เว้นแต่เป็นการค้ำประกันเพื่อกิกิจการเนื่องกันไปหลายคราวตามมาตรา 699 จะไม่ระบุระยะเวลาดังกล่าวก็ได้
     
        สัญญาค้ำประกันต้องระบุหนี้หรือสัญญาที่ประกันโดยชัดแจ้ง และผู้ค้ำประกันย่อมรับผิดเฉพาะหนี้หรือสัญญาที่ระบุไว้เท่านั้น
     
        หนี้อันเกิดแต่สัญญาที่ไม่ผูกพันลูกหนี้ เพราะทำด้วยความสำคัญผิดหรือเพราะเป็นผู้ไร้ความสามารถนั้นก็อาจจะมีประกันอย่างสมบูรณ์ได้ ถ้าหากว่าผู้ค้ำประกันรู้เหตุสำคัญผิดหรือไร้ความสามารถนั้นในขณะที่เข้าทำสัญญาผูกพันตน"
     
        เมื่อพิจารณาตามหลักกฎหมายที่แก้ไขใหม่ข้างต้นมีข้อพิจารณา ดังนี้
     
        ๑. กฎหมายยังคงยอมรับให้มีการประกันหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขได้ ทั้งนี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เจ้าหนี้ในการให้สินเชื่อหมุนเวียนทางธุรกิจ แต่หนี้ในอนาคตอันจะสามารถค้ำประกันได้นั้นจะต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
     
    (๑) วัตถุประสงค์ของการก่อหนี้รายที่ค้ำประกัน (เพื่อให้ทราบถึงที่มาที่ไปของสัญญา)
    (๒) ลักษณะของมูลหนี้ (เพื่อให้ทราบมูลหนี้อันจะทำให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในอนาคต)
    (๓) จำนวนเงินสูงสุดที่ค้ำประกัน (เพื่อให้ทราบขอบเขตของจำนวนเงินที่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิด)
    (๔) ระยะเวลาในการก่อหนี้ที่จะค้ำประกัน เว้นแต่เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวตามมาตรา ๖99 (เพื่อให้ทราบระยะเวลาที่ผู้ค้ำประกันจะต้องเข้าผูกพันตนตามสัญญา)
        ซึ่งเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดให้ต้องระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขนั้น ก็เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้ค้ำประกันได้ทราบถึงขอบเขตของความรับผิด และระยะเวลาที่จะต้องผูกพันตนตามสัญญาเพื่อประโยชน์ต่อการตัดสินใจเข้าผูกพันตนตามสัญญาค้ำประกันเป็นสำคัญนอกจากนี้บทบัญญัติที่มี
    การแก้ไขใหม่ยังนำไปบังคับใช้กับสัญญาจำนองตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๐๗ ด้วย
     
        ๒. หลักการ "หนี้ที่มีการค้ำประกันต้องเป็นหนี้ที่สมบูรณ์" ยังคงอยู่ไม่ได้ถูกยกเลิกตามไปด้วย ทั้งนี้เพราะสัญญาค้ำประกันนั้นมีฐานะเป็นพียงสัญญาอุปกรณ์ของหนี้ที่ประกันอันเป็นสัญญาประธานเท่านั้น
    ดังนี้ ความสมบูรณ์ของสัญญาประธานจึงมีผลต่อความสมบูรณ์ของสัญญาค้ำประกันด้วย สัญญาค้ำประกันมี
    ผลสมบูรณ์แล้วเมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ก็มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ได้
     
        ๓. กฎหมายกำหนดให้สัญญาค้ำประกันต้องระบุหนี้หรือสัญญาที่ค้ำประกันโดยชัดแจ้งและผู้ค้ำประกันย่อมรับผิดเฉพาะหนี้หรือสัญญาที่ระบุไว้เท่านั้นซึ่งคำว่า"ชัดแจ้ง" ดังกล่าวน่าจะมีหลักการทำนองเดียวกับการค้ำประกันหนี้ในอนาคต กล่าวคือ ต้องระบุวัตถุประสงค์ของการก่อหนี้รายที่ค้ำประกันลักษณะของมูลหนี้จำนวนเงินสูงสุดที่ค้ำประกันและระยะเวลาในการก่อหนี้ที่จะค้ำประกัน เพื่อที่ผู้ค้ำประกันจะได้ทราบถึงสิทธิหน้าที่ขอบเขตและระยะเวลาการรับผิดของตนได้อย่างครบถ้วนนั่นเอง
     
        ๔. หลักการความรับผิดของผู้ค้ำประกันในหนี้ที่กระทำโดยสำคัญผิดหรือเพราะเป็นผู้ไร้ความสามารถนั้นยังคงอยู่กล่าวคือ ผู้ประกันจะรับผิดในหนี้ประเภทนี้ก็ต่อเมื่อผู้ค้ำประกันได้รู้เหตุสำคัญผิดหรือไร้ความสมารถ และการรู้เช่นนั้นต้องกระทำในขณะที่ทำสัญญาผูกพันตน



    Please login for write message